

Sexual Child Abused
is SERIOUS CRIME
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่า 15 ปี โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10 สี สิทธิเด็ก (10 colors of The Rights of the Child)
เป็นตัวแทนของแต่ละเนื้อหาสำคัญของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก (UN Convention on the Rights of the Child) โดยมูลนิธิ World Childhood และ Safeguard Kids ร่วมนำมาใช้ในการสร้างความรับรู้ในสิทธิของเด็ก
สีขาว
เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นในทุกประเด็นที่มีผลต่อพวกเขา และจะต้องถูกรับฟัง
สีเขียว
เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะมีเวลาพักมีเว ลาว่าง และเล่น
สีชมพู
การลักลอบค้าเด็กในทุกรูปแบบจะต้องถูกป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น
สีน้ำเงิน
เด็กทุกคนจะได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเชื้อชาติใดหรืออยู่ภายใต้เงื่อนไขใดๆ
สีเบจ
เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับการปกป้องจากการแสวงหาผลประโยชน์และการถูกคุกคามทางเพศทุกรูปแบบ
สีแดง
เด็กที่เป็นเหยื่อของการถูกละเลย ทอดทิ้ง หาผลประโยชน์ หรือ ถูกคุกคามทางเพศ มีสิทธิที่จะได้รับการฟื้นฟูและกลับเข้าสู่สังคมปกติ
สีเหลือง
เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการปกป้องจากความรุนแรง และ การถูกทำร้ายทุกรูปแบบ
สีส้ม
เด็กที่ไม่สามารถอาศัยอยู่กับครอบครัว มีสิทธิ์ที่จะได้รับการเ ลี้ยงดูทางเลือก เช่น การรับเป็นบุตรบุญธรรม
สีฟ้า
ข้อตกลงที่ 3: ในการกระทำใดๆที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ผลประโยชน์ของเด็กจะต้องถือเป็นความสำคัญลำดับหนึ่ง
สีม่วง
เด็กทุกคนมีสิทธิในการใช้ชีวิต และพัฒนาตัวเอง
About
Us
Safeguard Kids คือใคร
Safeguard Kids หรือ มูลนิธิพิทักษ์และคุ้มครองเด็ก เป็นองค์กรทางกุศลที่มุ่งมั่นในการปกป้องและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการถูกละเมิดสิทธิ และการทารุณกรรม ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศของเด็กที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นในการสร้างความตระหนักรู้ในสังคม และผลักดันให้มีการออกกฎหมายที่มีบทลงโทษต่อผู้กระทำผิด เพื่อให้เด็กทุกคนมีโอกาสเติบโตได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย
เป้าหมายของเรา
การสร้างสังคมที่ปลอดภัยและยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน โดยการปกป้องเด็กจากการทารุณกรรมและการละเมิดสิทธ ิในทุกด้าน พร้อมส่งเสริมความตระหนักรู้และผลักดันให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเพื่อสร้างอนาคตที่เด็กทุกคนสามารถเติบโตและพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์และมีความสุข
วัตถุประสงค์
-
ปกป้องและรักษาสิทธิเด็กและเยาวชนจากการถูกล่วงละเมิด
-
ผลักดันให้มีการออกกฎหมายและนโยบายที่สนับสนุนการคุ้มครองเด็กให้มีบทลงโทษที่ชัดเจนและเข้มงวดต่อผู้กระทำผิด
-
รณรงค์ให้คนไทยตระหนักต่อปัญหาเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศของเด็กซึ่งจำเป็นต้องเร่งแก้ไขในสังคมไทย
About Us

เธอคือโลก
เรื่องราวของเรา


The Law we Force
The Law We
Fought
For
ประมวลกฎหมายอาญาในส่วนความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เห็นชอบให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2558 ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 27/2558 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 ในการนี้
ใน พ.ศ. 2556 เมื่อได้มีการรณรงค์ผลักดันการออกกฎหมายอาญาว่าด้วยสื่อลามกอนาจารเด็ก ประเทศไทยและสวีเดนได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิพิทักษ์และคุ้มครองเด็ก หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมาย มูลนิธิพิทักษ์และคุ้มครองเด็กได้ทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ในการรณรงค์ให้มีการสร้างความรับรู้ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายใหม่ฉบับนี้ของประเทศไทย ให้แก่สาธารณชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โครงการรณรงค์ในครั้งนี้ประกอบด้วย การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายนี้ในรายการโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ บทความในนิตยสาร สปอตรณรงค์ และเว็บไซต์นี้
ก่อตั้งมูลนิธิ safeguard kids ในปี 2013 เพื่อรณรงค์แก้ปัญหาสังคมที่เกี่ยวกับการละเมิดทางเพศเเละสร้างสวัสดิภาพเด็ก
2013
เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2558 เกี่ยวกับการครอบครองสื่อล ามกอนาจารเด็กได้รับการเห็นสมควรประกาศใช้โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 27/2558 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 (ค.ศ. 2015)
2015
มูลนิธิพิทักษ์และคุ้มครองเด็ก ร่วมมือกับ World Childhood Foundation ในการจัดงานประชุม Child Protection Summit 2024 เพื่อทำให้เกิดความตระหนัก และสร้างความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็กในประเทศไทย โดยมีสมเด็จพระราชินีซิลเวีย และสมเด็จพระราชินีสุทธิดา ทรงเสด็จมาเป็นองค์ปาฐก ภายในงานได้มีการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการถูกทำร้ายและถูกล่วงละเม ิดทางเพศจาก 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ และกระทรวงยุติธรรม
2567
2568
ทางมูลนิธิได้ผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฏหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา และจะถูกส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในขั้นตอนต่อไป
2568
มูลนิธิได้ผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฏหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา และจะถูกส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในขั้นตอนต่อไป

วัตถุประสงค์ในการจัดงาน
&
ข้อตกลงความร่วมมือ
กิจกรรมที่ผ่านมา
การจัดงาน Child Protection Summit 2024 ที่จัดโดยความร่วมมือระหว่าง World Childhood Foundation และ Safeguardkids Foundation เพื่อแก้ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็กในไทย
ประเด็นสำคัญ:
-
ความเป็นมาและการแก้ไขปัญหาการละเมิดทางเพศเด็กในประเทศไทย
-
พิธีการลงนาม MOU ร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรมและ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
-
Protecting children from sexual abuse: challenges and key steps forward
-
นิทรรศการความจริงที่คนไทยไม่รู้
ความสำเร็จของงานที่จัดขึ้น ทำให้สังคมหันกลับมาสนใจและตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็กในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นนัยยะสำคัญ อีกทั้งยังสร้างให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาอันร้ายแรง
16 พฤษภาคม 2025 ณ ESCAP HALL United Nations
Conference Centre เวลา 9.00 น. – 13.00 น.
Child Protection Summit 2024



วัตถุประสงค์ในการจัดงาน
1. สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเด ็กที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
2. ผลักดันให้มีการแก้ไขกฏหมาย ให้มีความเข้มแข็งและรัดกุมมากขึ้น
3. สร้างความร่วมมือกันระหว่างองค์กรภาครัฐ เอกชน รวมไปถึงองค์การกุศลอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็กในประเทศไทย
ข้อตกลงความร่วมมือ
ภายในวันงานได้มีการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการถูกทำร้ายและถูกล่วงละเมิดทางเพศทั้งทางด้านสังคมและด้านกฎหมายระหว่าง 3 กระทรวง ได้แก่
-
กระทรวงมหาดไทย โดย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ตำแหน่ง ปลัดกระทรวงมหาดไทย
-
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดย นายอนุกูล ปีดแก้ว ตำแหน่ง ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
-
กระทรวงยุติธรรม โดย นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ตำแหน่ง ปลัดกระทรวงยุติธรรม

โดยมีขอบเขตความร่วมมือดังนี้
-
พัฒนาศักยภาพ เด็กและเยาวชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ และมีภูมิคุ้มกันจากการถูกทำร้ายและการถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดยส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง เด็กและเยาวชนมีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ และบูรณาการสร้างภาคีเครือข่ายร่วมกันของหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายให้ส่งเสริม สนับสนุนการดูแลพัฒนาเด็กและเยาวชน
-
เพื่อปกป้อง คุ้มครอง เด็กและเยาวชน จากการถูกทำร้ายและการถูกล่วงละเมิดทางเพศในทุกรูปแบบ ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด ผลักดันให้มีการปรับปรุงกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับคดีละเมิดทางเพศเด็กให้ครอบคลุมในทุกมิติเทียบเท่าระดับสากล
-
เพื่อขับเคลื่อน การแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล และสัญชาติของ เด็กและเยาวชนให้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ควรได้รับจากรัฐ เพื่อลดความเสี่ยงการตกเป็นเหยื่อถูกทำร้าย ล่วงละเมิดทางเพศ และการค้ามนุษย์
-
เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของ เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกทำร้ายและการถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดยประสานความช่วยเหลือและส่งต่อความช่วยเหลืออย่างเป็นระบบตามสิทธิพื้นฐานและตามหลักสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละกระทรวง
“ความจริงที่คนไทยไม่รู้
-The hidden truth in Thailand”
เป็นการจัดนิทรรศการภายในงาน ซึ่งจะมีเรื่องราวความเป็นมาเเละเป้าหมายของมูลนิธิ World
childhood และมูลนิธิ Safeguard Kids ทั้งภาษาไทยเเละภาษาอังกฤษ ดังเช่น
- การเเสดงผลของสถิติการค้ามนุษย์
เด็กเเละการแสวงผลประโยชน์ทางเพศผ่านระบบออนไลน์ที่เกิดในประเทศไnย
- เรื่องราวน่าสลดใจของ ‘โรส’ เจ้าของคำพูดชวนหดหู่ใจ “And I scream. And I cry. I not have period yet. And I have blood in my body. And I very scared. I never see blood like this. And I very hurt.” เด็กสาวอายุเพียง 14 ปีที่ถูกโดนหลอกว่าได้งานต่างประเทศแต่หากเเท้จริงเเล้วเธอถูกหลอกไปขายเป็นทาส เธอถูกกระทำทารุณนานารูปแบบ จนสุดท้ายเธออดทนกลั้นใจกับบาดแผลเเละหนีออกมา ซึ่งมีได้นำเสนอผ่านศิลปะทั้งรูปภาพสื่อความ ภาพวาด
- ”สิบสี สิทธิเด็ก” เป็นส่วนเนื้อหาสำคัญของเเต่ละสีในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก (UN Convention on the Rights of the Child) เพื่อความเท่าเทียมในสิทธิของเด็กทุกคน

-
ผ่านกฏหมายเกี่ยวกับการครอบครองสื่อลามกเด็กและความผิดของผู้ครอบครอง ด้วยความร่วมมือจากท่าน พล.ต.อ. ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์
-
ผลิตสื่อออนไลน์ มินิซีรีส์ชุด "หลุด • THE LEAKED" จำนวน ๓ ตอน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อการป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเด็ก สร้างการรับรู้ถึง “ภัยของสื่อสังคมออนไลน์”
-
มินิซีรีส์ชุด "หลุด • THE LEAKED" จำนวน ๓ ตอน มียอดรับชมรวม ๑๐ ล้านครั้ง
-
งานเผยแพร่สร้างความตระหนักรู้ให้สังคมระวังภัยกับเด็กและเยาวชนในเรื่องสิทธิเด็กและกฎหมายความคุกคามทางเพศ
-
งานเดินตามรอยพระบาทในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๐ ที่ศูนย์กาค้าเซนทรัลเฟสติวัลบีช เมืองพัทยา จ.ชลบุรี
-
งานประกวดลูกครึ่งหัวใจไทย เพื่อส่งเสริมความสามาถเยาวชนและค้นหาตัวแทนแอมบาซาเดอร์ของ Safeguardkids
-
เผยแพร่รณรงค์หยุดความรุนแรงกับเด็กทุกรูปแบบ จัดที่ศูนย์การค้าเอ็มโควเทียร์ กรุงเทพ วันที่ ๔ มิถุนายน. พ.ศ.๒๕๖๐
Activities
กรรมการมูลนิธิพิทักษ์และคุ้มครองเด็ก
Foundation for the Protection and Protection of Children

นายชเล วุทธานันท์
ประธานกรรมการและเลขาธิการ

นายสุริยน ศรีอรทัยกุล
รองประธานกรรมการ

พ.ต.ต.สุนทร อรุณนารา
กรรมการ

นางสาวดาริณ พันธุศักดิ์
กรรมการและเลขานุการและเหรัญญิก

นายกีรติ แก่นแก้ว
กรรมการและรองเลขาธิการ

นายชเล วุทธานันท์
ประธานกรรมการและเลขาธิการ

นายสุริยน ศรีอรทัยกุล
รองประธานกรรมการ

พ.ต.ต.สุนทร อรุณนารา
กรรมการ

นางสาวดาริณ พันธุศักดิ์
กรรมการและเลขานุการและเหรัญญิก

นายกีรติ แก่นแก้ว
กรรมการและรองเลขาธิการ
พาร์เนอร์ร่วมกับมูลนิธิ



