ฉันทำอะไรได้บ้าง

มันไม่ใช่ความรัก
มันไม่ใช่ศิลปะ
มันไม่ใช่เวรกรรม
แต่…
มันเป็นการก่ออาชญากรรม!

คิด!

หากคุณได้รับอีเมล์หรือข้อความที่เป็นสื่อลามกอนาจารเด็ก :

  • คิด ก่อนดู!
  • คิด ก่อนส่งต่อ!
  • ส่งสื่อเหล่านั้นให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ แล้ว ลบซะ!

ลงมือทำ!

โปรดระวัง  หากคุณเจอสื่อลามกอนาจารเด็กหรือสถานการณ์ที่น่าสงสัยว่ามีการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก  –  โทรสายด่วนของตำรวจไทย 1911 ! หรือแจ้งเว็บไซต์ที่ ThaiHotline

การไม่รายงานดังกล่าวเป็นการสนับสนุนการก่ออาชญากรรมโดยอ้อม!

ช่วยเหลือ!

โปรดช่วยกันหยุดการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก :

สร้างเสริมพลังให้แก่เด็ก

เตือนให้เด็กระวังตัว ชี้ให้เด็กเห็นถึงวิธีต่างๆ ที่ผู้ล่วงละเมิดทางเพศเด็กใช้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการล่อหลอกเด็กเพื่อให้ยอมตกเป็นเหยื่อ (grooming) และการทรมานทางเพศ  ผู้ล่วงละเมิดทางเพศเด็กบังคับให้เด็กเก็บการถูกล่วงละเมิดนั้นไว้เป็นความลับ ดังนั้นต้องทำให้เด็กเข้าใจว่าเรื่องใดควรเป็นเรื่องที่เป็นความลับเรื่องใดไม่ควร ทำให้เด็กรู้ว่าหากมีใครถูกทำร้ายหรือขู่ทำร้ายร่างกาย เช่น ถูกขู่ให้ส่งต่อรูปภาพไม่เหมาะสมของตน หรือหากทำร้ายโดยละเมิดทางเพศ เด็กก็สามารถพูดกับผู้ใหญ่ที่น่าเชื่อถือ สายด่วนช่วยเด็ก หรือครูแนะแนวที่โรงเรียนได้

เมื่อเด็กถามคำถามเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ ให้พูดกับเด็กอย่างสงบ เปิดเผย และเหมาะสม  เด็กเป็นผู้ที่สามารถถูกสอนให้ป้องกันร่างกายตนเองและปฏิเสธต่อการแตะต้องที่ไม่เหมาะสมได้  สำหรับวิธีในการสอนเด็กนั้นแตกต่างไปตามวัย ติดต่อ CCT Office of Child Protection เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม 3-3-5 ซึ่งสอนเด็กให้รู้จักปกป้องตนเองจากการถูกล่วงละเมิด

ในปัจจุบันมีเด็กที่ใช้มือถือสมาร์ทโฟนมากขึ้นเรื่อยๆ มีเด็กจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ส่งรูปภาพและวีดิโอของตนเองในทางเพศ ซึ่งเป็นในรูปแบบของ “ข้อความทางเพศ”  เด็กๆ ควรได้รับการให้ความรู้ในเรื่องความเสี่ยงของข้อความทางเพศ  เมื่อรูปของเด็กๆ ถูกส่งต่อไปยังคนอื่นๆ  เด็กๆ จะไม่สามารถควบคุมการเข้าถึงซึ่งสื่อของเด็กนั้นเองได้อีกต่อไป  เมื่อใดที่สื่อของเด็กนั้นได้ถูกส่งต่อในอินเทอร์เน็ตแล้ว  สื่อเหล่านั้นจะคงอยู่ตลอดไป  เช่น ภาพทางเพศของวัยรุ่นคนหนึ่งส่งไปที่แฟนของเธอ เมื่อเขาทั้งคู่ตกหลุมรักกัน แต่ในเวลาต่อมาเมื่อทะเลาะกันหรือเลิกกัน วัยรุ่นชายซึ่งเกลียดชังหรือต้องการแก้แค้นหญิงสาว ก็อาจอัพโหลดสื่อนั้นได้เช่นกัน

สอนวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยให้เด็กๆ

เด็กๆ ต้องได้รับการเตือนตลอดว่าไม่ให้รับคำขอเป็นเพื่อนจากคนที่เขาไม่เคยพบซึ่งๆ หน้า  เด็กหลายๆ คนสร้างประวัติออนไลน์ปลอมๆ ขึ้นมา เพื่อให้มีเพื่อนและอาจล่วงละเมิดได้ในเวลาต่อมา  พวกเขามักใช้รูปภาพเด็กอายุราวคราวเดียวกับเด็กคนนั้นเพื่อดึงดูดเด็กคนนั้น และโน้มน้าวให้เด็กเชื่อว่าก็เป็นเพื่อนๆ กัน  นอกจากนี้ เด็กๆ ก็ไม่ควรลงรูปภาพ ข้อความ เช็คอิน กดไลค์เพจ และบ่งชี้ถึงโรงเรียนของตน ที่อยู่ หรือที่ๆ ชอบไปเที่ยวเล่นบ่อยๆ รายละเอียดเหล่านี้ช่วยให้ผู้ล่วงละเมิดทางเพศเด็กติดต่อเด็กตัวต่อตัวได้

สำหรับคำแนะนำสอนให้เด็กป้องกันตนเองในโลกออนไลน์จากการล่วงละเมิดทางเพศ  อ่านได้ที่  คู่มือ ECPAT ปกป้องน้องน้อยจากภัยออนไลน์