ข้อมูลเบื้องหลัง
10 ปีในการผลักดันกฎหมาย
– สำเร็จในเดือนพฤษภาคม 2558

ข้อมูลเบื้องหลังโดยย่อ
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ (UN Convention on the Rights of the Child) ในปี 2535 ตั้งแต่นั้นได้มีการออกมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันเด็ก และล่าสุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้กำหนดเพิ่มเติมบทบัญญัติให้ความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กให้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา นอกจากนี้ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขได้ประมาณการว่า 40% ของผู้ขายบริการทางเพศทั้งหมด เป็นเด็ก หากเปรียบเทียบความง่ายในการเข้าถึงเด็กและโทษที่ไม่มากของการก่ออาชญากรรมทางเพศต่อเด็ก ทำให้ประเทศไทยเปรียบเสมือนสวรรค์ของผู้ละเมิดทางเพศที่ชื่นชอบการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุยังน้อย (pedophiles) จากทั่วโลก
สมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน ผู้ทรงก่อตั้งมูลนิธิ World Childhood ทรงตระหนักถึงปัญหาการเดินทางเพื่อการล่วงละเมิดทางเพศซึ่งมีลักษณะเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ และทรงกล่าวถึงประสบการณ์ในการแก้ปัญหานี้ของสวีเดน ให้กับหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ในการประชุมที่จัดโดยกระทรวงยุติธรรม (ประเทศไทย) ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการกล่าวถึงการออกกฎหมายในสวีเดนว่าด้วยสื่อลามกอนาจารเด็กเพื่อปกป้องเด็กจากอาชญากรรมทางเพศ ในปี ค.ศ. 1999 และ ค.ศ. 2010
ความพยายามกว่า 10 ปี ในการผลักดันการออกกฎหมายดังกล่าวในประเทศไทย มีการเริ่มต้นจากกลุ่มเล็กๆ โดยผู้ให้การสนับสนุนของทั้งประเทศไทยและสวีเดน และประสบความสำเร็จในเดือนพฤษภาคม 2558 เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมาย “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2558 (ความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก)” การแก้ไขดังกล่าวได้เพิ่มเติมให้การครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กในทุกรูปแบบ เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศของตนเองหรือผู้อื่น เป็นความผิดอาญา (ซึ่งเดิมการผลิต การค้า การเผยแพร่ และการแสดงสื่อลามกอนาจารเด็กเท่านั้นที่เป็นความผิดทางอาญา) คำนิยาม “สื่อลามกอนาจารเด็ก” ได้ถูกบัญญัติเพิ่มในประมวลกฎหมายอาญา เพื่อให้เห็นความหมายที่ชัดเจนว่า “เด็ก” ตามคามหมายของสื่อลามกอนาจารเด็ก ตามประมวลกฎหมายอาญานั้น หมายถึง ผู้ใดก็ตามที่อายุต่ำกว่า 18 ปี และได้มีการจำแนกถึงสื่อลามกอนาจารเด็กในรูปแบบต่างๆ ซึ่งรวมไปถึง “เรื่อง” ที่เกี่ยวกับการกระทำทางเพศกับเด็กด้วย
ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ได้วิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวกับการเดินทางเพื่อการทำร้ายและการล่วงละเมิดทางเพศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้ช่วยสนับสนุนบางประเทศในการยกร่างกฎหมายเพื่อส่งเสริมการปกป้องเด็ก นอกจากนี้ UNODC ได้ให้ความช่วยเหลือหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในการหยิบยกประเด็นการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ สื่อลามกอนาจารเด็ก และการล่อลวงเด็กและบุคคลแวดล้อม หลังจากนั้น จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2555 เมื่อเจ้าหน้าที่ต่างๆ และ UNODC ได้ทำงานร่วมกับผู้ให้การสนับสนุนของทั้งประเทศไทยและสวีเดน และได้จัดความช่วยเหลือทางเทคนิคและคำแนะนำต่างๆ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกฎหมายต่อต้าน
สื่อลามกอนาจารเด็กของประเทศไทย
คะแนนเสียงของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ :
เกือบเป็นเอกฉันท์ โดยสมาชิก 193 จากทั้งสิ้น 196 คน ลงคะแนนเห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย
ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ :
เสนอโดย มูลนิธิพิทักษ์และคุ้มครองเด็ก โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
นางสาวจินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร
พิจารณาโดย คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….(ความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก) โดยมี พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ
วิสามัญดังกล่าว
ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ :
เสนอโดย มูลนิธิพิทักษ์และคุ้มครองเด็ก โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
นางสาวจินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร
พิจารณาโดย คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….(ความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก) โดยมี พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ
วิสามัญดังกล่าว